ประเพณีไทย
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด
พิธีแห่เทียนพรรษา
ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น
แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน
ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน
เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์
เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล
ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต
จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน
ประเพณีลอยโคม
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน
๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่
ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ
ให้ไปพ้นจากตัว
ประเพณีบุญบั้งไฟ จ.ยโสธร
ประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน
ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ เดือนพฤษภาคมของทุกปี
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
จ.นครศรีธรรมราช
งานประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
เพื่อนมัสการองค์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชในงานมีการกวนข้าวมธุปายาส
ประกวดผ้าพระบฏและโคมประดับ และมีการแห่ผ้าขึ้นธาตุไปตามถนนแล้วนำไปห่มองค์พระธาตุเป็นการสักการบูชา
ประเพณีวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี
นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย
ประกวดความงามของควาย และประกวดสุขภาพของควายแล้วยังมีการ "สู่ขวัญควาย"
หรือทำขวัญควายไปในตัวอีกด้วยแม้ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศจะหันมาใช้เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็กช่วยผ่อนแรงในการทำนาแล้วก็ตาม
แต่ชาวชลบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่
เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแล้ว
ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย
ประเพณีทำขวัญข้าวของชาวนา
ประเพณีทำขวัญข้าวเป็นพิธีสำคัญของชาวนา
เมื่อต้นข้าวแตกกอเขียวงอกงามแล้วจึงทำพิธี
" ขวัญข้าว"
การตักบาตรเทโว
ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา โดยจำพรรษาอยู่ ณ
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา
และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนครการ
ประเพณีแข่งเรือ จ.บุรีรัมย์
ประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนไทยอันผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนานโดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จสิ้นการดำนา
นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราวเดือนพฤศจิกายนที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง
ชาวบ้านก็จะจัดงานแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน และการสมัครสมานสามัคคีกัน
ประเพณีรำบวงสรวงพระธาตุพนม
จ.นครพนม
งานบุญยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครพนม
ที่จัดขึ้นเพื่อนมัสการองค์พระธาตุพนมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น