วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย อารยธรรมไทย ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนาและการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้ ประเพณีแอารธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่นนับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ  เมืองแพร่แห่ตุงหลวง  จังหวัดแพร่

         “ย้อนอดีตเก่าแก่  เมืองแพร่เมืองงาม  เล่าขานตำนานช่อแพร่ช่อแฮแหล่งประดิษฐานพระเกศาธาตุ  พระบรมสารีริกธาตุ  พระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า  เมื่อถึงวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ  พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลไหว้พระธาตุช่อแฮ  เมืองแพร่  แห่ตุงหลวง  ถวายแด่องค์พระธาตุสืบมาตำนานเก่าแก่แห่งเมืองมนต์ขลังเล่าว่า  อดีตกาล  พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอยโกสิยธชัคคะบรรพตและได้มอบพระเกศาธาตุให้ขุนลั๊วอ้ายก้อมไปบรรจุในผอบแก้วแล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออกของดอยที่ประทับ  ซึ่งผ้าแพรที่ขุนลั๊วอ้ายก้อมนำมารองรับพระเกศาธาตุนั้นเรียกว่า ผ้าแฮ”  นิยมนำผ้าแฮ หรือผ้าแพรมาประดิษฐ์เป็นช่อ  หรือธง  แล้วทำการถวายสักการะเป็นพุทธบูชา  ต่อมาภายหลังเพี้ยนมาเป็น  ช่อแฮ่”  หรือ  ช่อแพร่”  โดยครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงมีรับสั่งว่า  ต่อไปเมืองนี้จะชื่อเมืองแพร่  และหลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว  ให้นำพระธาตุข้อศอกข้างซ้ายมาประดิษฐ์ที่นี่ด้วย  และหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ๒๑๘ ปี  พระเจ้าอโศกมหาราชและพระอรหันต์จำนวนมากได้ร่วมกันอธิษฐานอันเชิญพระบรมสารีกริกธาตุที่ได้บรรจุในผอบแก้วที่เตรียมไว้นั้นไปสถิตในสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงหมายไว้แต่เดิม  แล้วประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้พิทักษ์รักษาตลอดไป  จนกว่าจะหมดอายุแห่งพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ พระวัสสา

 ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  จังหวัดนครปฐม
            แสงนวลจากจันทร์วันเพ็ญส่องสว่างค่ำคืนให้รื่นเริงไปพร้อมกับเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ประจำปี  ผู้คนจากทั่วสารทิศร่วมบูชาพระบรมสารีริกธาตุด้วยเคารพศรัทธา  เสริมสร้างสิริมงคลแก่ชีวิต  แล้วร่วมแรงร่วมใจแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  อิ่มบุญแล้วยังได้สนุกครึกครื้นไปกับบรรยากาศงานวัด  กิจกรรม  การประกวด  และการละเล่น  จึงมากมายรอยยิ้ม  ความสุขเช่นทุกๆ ปีเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์  พิธีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนานนับร้อยปีของชาวนครปฐม  เมื่อวันเวลาผ่านมาถึงคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี  องค์พระปฐมเจดีย์มีผู้คนหลั่งไหลมากราบไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ  ดั่งได้เฝ้าอยู่เบื้องพระยุคลบาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  สร้างสิริมงคลแก่ชีวิต  ท่ามกลางแสงนวลจากจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญ  ยามต้ององค์พระปฐมเจดีย์ปูชนียสถานซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานคู่แผ่นดินสุวรรณภูมิ  นับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  นับอายุกว่าพันปีที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า  ภายใต้พระเจดีย์ใหญ่รูประฆังคว่ำ  ปากผายมหึมา  โครงสร้างเป็นไม้ซุง  รัดด้วยโซ่เส้นมหึมา  ก่ออิฐ  ถือปูน  ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ  ประกอบด้วยวิหาร ๔ ทิศ  กำแพงแก้ว ๒ ชั้น  งดงามเคียงคู่กาลเวลา 

 ประเพณีตักบาตรดอกไม้  จังหวัดสระบุรี
                 “น้อมนมัสการรอยพระพุทธบาท  ร่วมทำบุญตักบาตรตามวิถีปฏิบัติ  ในงานประเพณีตักบาตรดอกไม้  เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา  ตลอดช่วงเช้าและช่วงบ่ายพระสงหลายร้อยรูป  บิณฑบาตเหล่าดอกเข้าพรรษาสีเหลือง  ขาว  และน้ำเงินม่วง  ซึ่งจะเบ่งบานในช่วงวันเข้าพรรษา  ที่พุทธศาสนิกชนหลายหมื่นแสนต่างพร้อมใจนำมาถวายด้วยศรัทธาอันแรงกล้า  เรื่อยมาจวบจนปัจจุบันดอกเข้าพรรษากำลังเบ่งบานอยู่รายรอบภูเขา  บริเวณใกล้กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร  นับเป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่าใกล้ถึงช่วงวันเข้าพรรษา  แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ แล้ว  ซึ่งนับว่าเป็นวาระมงคลที่พุทธศาสนิกชน  จะมาพร้อมกันเพื่อถวายดอกเข้าพรรษาแก่พระภิกษุสงฆ์  เพื่อนำไปสักการะแด่พระเจดีย์จุฬามณี  ตามความเชื่อดั้งเดิม


 ประเพณีบุญเบิกฟ้า  จังหวัดมหาสารคาม
                “ประเพณีบุญเบิกฟ้า  ช่วงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต  ชาวนาอีสานตอบแทนผืนแผ่นดินทำกิน  โดยการใช้ปุ๋ยคอกทำจากมูลสัตว์กลับคืนสู่ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง  อีกทั้งสายฝนแรกของปีก็กำลังจะมา  ฟ้ากำลังจะร้อง  เมื่อมาทิศใดก็จะทำนายความอุดมสมบูรณ์ในปีนั้นๆ ไปตามความเชื่อดั้งเดิมชาวนาใช้ประโยชน์จากพื้นดินมายาวนาน  ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก  ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินได้สูญสลายไป  เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว  เมล็ดข้าวที่เติบโตจนได้สีทองล้วนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้  ซึ่งชาวนาต่างรู้และสำนึกในบุญคุณของผืนแผ่นดิน  ด้วยการคืนธาตุ  คืนอาหารเป็นการตอบแทน  อาการที่ว่าก็คือปุ๋ยนั่นเองเดือน ๓ เดือนมหัศจรรย์ของชาวอีสาน  นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน  ซึ่งจะมีเสียงฟ้าร้อง  และมีความเชื่อว่าในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ นี้  เมื่อมีฟ้าร้องมาจากทิศทางใดจะเป็นสัญญาณบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของฝนในปีนั้นๆ  การทำนายดังกล่าวนับว่ามีความแม่นยำจนมีการจดบันทึกคำทำนายเป็นกลอนไว้เป็นหลักฐาน  ชื่อว่า โสลกฝน


 ประเพณีแข่งขันตีโพน  จังหวัดพัทลุง
                “หลังประดิดประดอยโพนพร้อมสำหรับการประชันแล้ว  เสียงโพนจึงดังกึกก้อง  สร้างความครึกครื้น  รื่นเริง  ในงานประเพณีแข่งขันตีโพน  เครื่องดนตรีพื้นบ้านซึ่งอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนเมืองลุง  ด้วยเสียงอันทุ้มแหลมกังวาน  เกิดเป็นคำกล่าวที่ว่า  จะร้อยพันแม้นหมื่นเสียงตะโกน  ฤาจะสู้เสียงแข่งโพนที่เมืองลุงโพน  ชื่อเรียกเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวปักษ์ใต้  เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในอดีต  ใช้บอกเหตุร้ายเวลากลางคืน  บ้างใช้สำหรับเรียกประชุมหมู่บ้าน  เป็นสัญญาณเมื่อถึงเวลาฉันอาหาร  รวมทั้งใช้เป็นจังหวะในงานประเพณีลากพระ  พัฒนาสู่ประเพณีการแข่งขันตีโพยด้วยในวันงานลากพระ  วัดในละแวกเดียวกันต่างจัดงานกันยิ่งใหญ่  เสียงโพนจึงดังกึกก้องจนไม่สามารถแยกได้ว่าเสียงนั้นดังมาจากวัดไหน  นำสู่การแข่งขันประชันเสียงโพน  โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปีประเพณีแข่งขันตีโพนจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิบจนถึงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด  จัดควบคู่ไปกับประเพณีลากพระในวันออกพรรษา  ก่อนถึงวันแข่งขัน  เหล่านักตีโพนต่างขะมักเขม้นกับการประดิษฐ์เพื่อให้ได้โพนที่เสียงดีที่สุด  เลือกเอาไม้เนื้อแข็ง  ตาลโตนด  จำปาป่า  ขนุนป่า  แกะเป็นรูกลมกลวงคล้ายอกไก่  ใช้หนังควายแก่ซึ้งเป็นที่นิยมด้วยความเหนียวทนทานเป็นหนังหุ้ม  โพนของพัทลุงจึงมีชื่อเสียงโด่งดัง  ด้วยความพิถีพิถันในการประดิษฐ์

ประเพณีชักพระ

                  “ด้วยจิตอันศรัทธายิ่งต่องานประเพณี เมื่อถึงวันชักพระ ชาวบ้านต่างร่วมกันทำบุญตักบาตร อันเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกบนเรือพระ รถพระ ซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม จากนั้นจึงออกแรงชักพระ เรือพระ ออกจากวัด สมโภชไปตามถนน ลำคลอง ผู้คนหนาตาด้วยจิตศรัทธาเป็นหนึ่งเดียวกันตระเตรียม สลักเสลา ประดับประดิษฐ์ รถ เรือพนมพระ งดงามเมลืองมลัง ด้วยมวลหมู่ดอกไม้ ด้วยจิต ด้วยศรัทธา สมความยิ่งใหญ่ในประเพณีอันนับถือสู่สิริมงคล นับร้อย นับพัน ร่วมแรง ร่วมใจ แข็งขัน สามัคคี คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่า ผู้แก่ ออกเรี่ยว ออกแรง เฮโล เฮลา ถึงวันเรามาชักพระร่วมกันนับนานแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเทศนาโปรดพุทธมารดากลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนเฝ้ารอตักบาตรรับเสด็จ เกิดเป็นประเพณีตักบาตรเทโว แถบถิ่นปักษ์ใต้ยังมีประเพณีชักพระควบคู่ด้วยกัน ปฏิบัติสืบมาช้านาน สุราษฏร์ธานีแต่ละปีจัดงานชักพระยิ่งใหญ่ ถึงแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดออกพรรษาแล้ว ผู้คนเนืองแน่น คนจากไปอยู่ถิ่นไกลกลับบ้านร่วมงานบุญถิ่นฐานบ้านเกิด ด้วยปลูกวิถีแห่งประเพณีประดับจิตไว้แต่เล็กแต่อ่อน ช่วยกันตกแต่งทำรถ เรือพนมพระ งดงาม อันเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบก บนเรือพระ รถพระ เตรียมอาหารคาวหวาน ขนมต้ม ทำบุญตักบาตร แล้วชักรถ เรือพระออกจากวัด สมโภชตามถนน ลำคลอง เสียงโพนนำขบวน ครึกครื้น สนุกสนาน รื่นเริง วัดนับร้อยเข้าร่วมพิธี วันเดียวจึงเปรียบทำบุญได้ร้อยวัด


ประเพณีบุญสงกรานต์

                ประเพณีบุญสงกรานต์ไทยหรือเทศกาลสงกรานต์ไทย ชาวอีสานจะเรียกว่า สังขานต์แปลว่า สงกรานต์ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป หมายถึงพระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปอีกในจักรราศีหนึ่ง เรียกว่า สงกรานต์มูลเหตุของการเกิดบุญสงกรานต์ เนื่องมาจากเรื่องเล่าที่ว่า มีเศรษฐีท่านหนึ่งเป็นผู้มีสมบัติมากแต่ไม่มีบุตร จึงถูกนักเลงสุราผู้อาศัยอยู่ใกล้บ้านและมีบุตร ๒ คน ซึ่งบุตรนั้นมีผิวพรรณผุดผ่องสวยงามเหมือนทอง กล่าวดูถูกว่า ท่านเศรษฐีผู้มีสมบัติมากแต่ไม่มีบุตรเมื่อท่านเศรษฐีได้ยินดังนั้นจึงโกรธมาก เศรษฐีจึงไปบวงสรวงกับพระอาทิตย์และพระจันทร์เพื่อขอบุตร แต่ขออยู่นานก็ไม่มีบุตรสักทีจึงได้ไปขอกับพระไทร พระไทรเห็นใจจึงไปบอกพระอินทร์ พระอินทร์จึงประทานลูกให้ ท่านเศรษฐีได้ตั้งชื่อให้ว่า ธรรมบาลกุมารธรรมบาลกุมารเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดมากจนสามารถเรียนจบวิชาการต่างๆ ได้ไม่ยาก รวมทั้งเข้าใจภาษานกได้ด้วย เมื่อท้าวกบิลพรหมทราบจึงลงมาถามปัญหาแก่ธรรมบาลกุมาร จำนวน ๓ ข้อ

                                           

   แหล่งที่มา    http://xn--k3cikmwc5gwb5fxbya.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น